ข้อสรุปประเด็นที่ 10
จากอายะฮฺกุรอานที่ชัดเจนในซูเราะห์ อัลอิสรออฺ เริ่มจากอายะฮฺที่ 22 ได้กล่าวว่า
{ لَّا تَجْعَلْ مَعَ اللَّـهِ إِلَـٰهًا آخَرَ فَتَقْعُدَ مَذْمُومًا مَّخْذُولًا }
ความว่า ((เจ้าอย่าตั้งพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮฺมิฉะนั้นเจ้าจะกลายเป็นผู้ถูกเหยียดหยามถูกทอดทิ้ง))
และจบลงในอายะฮฺที่ 39 ที่กล่าวว่า
{وَلَا تَجْعَلْ مَعَ اللَّـهِ إِلَـٰهًا آخَرَ فَتُلْقَىٰ فِي جَهَنَّمَ مَلُومًا مَّدْحُورًا }
ความว่า ((และเจ้าอย่าตั้งพระเจ้าอื่นใดเคียงคู่กับอัลลอฮฺ มินั้นเจ้าจะถูกโยนลงในนรกญะฮันนัม เป็นผู้ถูกครหา ถูกขับไล่))
โดยที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกำชับให้ตระหนักในความสำคัญของเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในอายาตเหล่านี้ด้วย ดำรัสที่ว่า
{ذَٰلِكَ مِمَّا أَوْحَىٰ إِلَيْكَ رَبُّكَ مِنَ الْحِكْمَةِ} الإسراء /39
ความว่า ((นั่นคือส่วนหนึ่งจากที่พระเจ้าของเจ้าได้ทรงประทานฮิกมะฮฺแก่เจ้า))
● ข้อสรุปประเด็นที่ 11 จากอายะฮฺที่ 36 ของซูเราะห์อัลนิซาอฺ ซึ่งเรียกว่าซูเราะห์สิทธิทั้งสิบ ซึ่งเริ่มต้นกับดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
{وَاعْبُدُوا اللَّـهَ وَلَا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا ۖ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا وَبِذِي الْقُرْبَىٰ وَالْيَتَامَىٰ وَالْمَسَاكِينِ وَالْجَارِ ذِي الْقُرْبَىٰ وَالْجَارِ الْجُنُبِ وَالصَّاحِبِ بِالْجَنبِ وَابْنِ السَّبِيلِ وَمَا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ ۗ إِنَّ اللَّـهَ لَا يُحِبُّ مَن كَانَ مُخْتَالًا فَخُورًا} النساء 36
ความว่า ((และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และต่อผู้เป็นญาติใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้างและผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง แท้จริงอัลลฮฺไม่ทรงชอบผู้ยะโส ผู้โอ้อวด)) All the best Swiss super clone watches UK are available at the shop site!
Men and women deserve the cheap fake cartier watches UK online.
สิทธิต่างๆนั้นจะครบถ้วนสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเราได้ให้สิทธิของอัลลอฮฺครบสมบูรณ์เสียก่อน การประพฤติชอบใดๆ จะไม่เกิดประโยชน์หรือได้รับการตอบแทน นอกจากหลังจากการให้สิทธิต่ออัลลอฮฺสมบูรณ์เสียก่อน จากฮาดีษที่ท่านฮะกีม อิบนุ หิซาม ได้ถามท่านรอซูลุลลอฮฺ –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม – ถึงผู้ที่บริจาค ผู้ที่ปล่อยทาส และเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติในสมัยญาฮิลียะฮฺ ว่า เมื่อเข้ารับอิสลามแล้วจะได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺหรือไม่? ท่านรอซูล –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม- ตอบว่า
أسلمت على ما أسلفت من الخير رواه البخاري ومسلم
(ท่านเข้ารับอิสลาม พร้อมกับสิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติผ่านมาจากความดี(ได้รับการตอบแทน))
●ข้อสรุปประเด็นที่ 12 เตือนให้ใส่ใจในคำสั่งเสียของท่านนบี – ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม – ก่อนที่จะถึงแก่กรรมที่สั่งให้ยึดมั่นในกิตาบุนลอฮฺและซุนนะฮฺของท่าน ที่ท่านชี้ชัดว่าเราจะไม่หลงอย่างเด็ดขาดหากว่าได้ปฏิบัติตามที่ท่านสั่งไว้ และการให้ความสำคัญกับอายะฮฺวะศียะฮฺของท่านนบีที่ผ่านมา(อายะฮฺที่ 151- 153 ในซูเราะห์อัลอันอาม)
●ข้อสรุปประเด็นที่ 13 ความรู้เรื่องสิทธิของอัลลอฮฺที่เราจำเป็นต้องให้แก่พระองค์
●ข้อสรุปประเด็นที่ 14 รับทราบถึงสิทธิที่บ่าวจะได้รับจากอัลลอฮฺ เมื่อเราได้ทำหน้าที่บ่าวที่ดีต่อพระองค์
●ข้อสรุปประเด็นที่ 15 อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า “สมควรที่จะต้องให้การงานของเราทุกสิ่งที่ทำเพื่ออัลลอฮฺนั้น วางอยู่ระหว่างความกลัวและความหวัง ถ้าเอนเอียนไปทางด้านใด ย่อมทำให้เจ้าของการงานนั้นล้มเหลวได้” หากว่าความหวังมีมากกว่าก็จะทำให้เขารู้สึกปลอดภัยจนประมาท เผลอเรอ และละเลยในสิ่งที่เป็นข้อห้าม หากว่าความกลัวครอบงำ ก็จะทำให้เขาสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮฺ อุละมาอฺบางส่วนกล่าวว่า เมื่อมองไปยังความเมตตาของอัลลอฮฺความรู้สึกด้านความหวังก็จะรุนแรงขึ้น และเมื่อมองไปที่การกระทำต่างๆของพระองค์ ความรู้สึกกลัวก็จะเพิ่มขึ้น เพื่อผลักดันให้มนุษย์กลับเนื้อกลับตัว(เตาบะฮฺ)และสารภาพผิดต่อพระองค์ ดังอายะฮฺกุรอานที่กล่าวว่า
{وَالَّذِينَ يُؤْتُونَ مَا آتَوا وَّقُلُوبُهُمْ وَجِلَةٌ أَنَّهُمْ إِلَىٰ رَبِّهِمْ رَاجِعُونَ }المؤمنون / 60
ความว่า ((และบรรดาผู้ที่บริจาคสิ่งที่พวกเขาได้มา โดยที่จิตใจของเขา เปี่ยมไปด้วยความหวั่นเกรงว่าแท้จริงพวกเขาต้องกลับไปหาพระเจ้าของพวกเขา))
●ข้อสรุปประเด็นที่ 16 การกล่าวตอบเมื่อถูกถามในสิ่งที่ไม่มีความรู้ว่า อัลลอฮุวะรอซูลุฮู อะลัม (อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ทรงรู้ดีที่สุด)
ท่านนบี –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม-ยอมรับ ในขณะที่มุอาซตอบคำถามของท่านว่า อัลลอฮุวะรอซูลุฮูอะลัม และท่านไม่ได้ห้ามปรามหือตำหนิแต่อย่างใด ในขณะที่ท่านปฏิเสธและห้ามผู้ที่กล่าวว่า ماشاءالله وشئت (เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์และท่าน(ท่านนบี)ต้องการ) ดังนั้นกล่าวโดยสรุปได้ว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ – ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม – นั้น ท่านมีความรู้ในเรื่องบทบัญญัติต่างๆ ในขณะที่ผู้พูดไม่มีความรู้เรื่องเหล่านี้ ดังนั้นท่านจึงไม่ปฏิเสธที่มุอาซพูดเช่นนั้น โดยแตกต่างจากความรู้ในเรื่องความเป็นไปต่างๆของโลกและสรรพสิ่งซึ่งเป็นการกำหนดโดยตรงจากอัลลอฮฺ โดยที่ท่านรอซูลเองก็ไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวนี้ และไม่มีสิทธิและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเหล่านี้เลย จึงไม่อนุญาตที่จะผนวกความต้องการของท่านเข้ากับความประสงค์ของอัลลอฮฺ หรือผนวกความรู้ของท่านรอซูลเข้ากับความรู้ของอัลลอฮฺ
-วัลลอฮุ อะอฺลัม-
|